การเดินทางไปธนาคารยูโอบีสำนักงานเพชรเกษม (UOB Bank)

ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่เพชรเกษม บางหว้า ใกล้ห้างซีคอนบางแค ตั้งอยู่เลขที่ 559 ถนนเพชรเกษม บางหว้า ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160

ธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม
ธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม

การเดินทางไปธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม

การเดินทางไปธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม สามารถเดินทางได้ง่ายโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน ไปลงที่สถานีภาษีเจริญ ออกทางออกที่ 1 (ซอยเพชรเกษม 33/8) ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ตรงหน้าห้างซีคอนบางแค จากหน้าห้างซีคอนให้เดินตรงไปทางด้านขวามือประมาณ 200 เมตร ธนาคารยูโอบีสำนักเพชรเกษมตั้งอยู่ตรงซอยเพชรเกษม 33/5

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน สถานีภาษีเจริญ
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน สถานีภาษีเจริญ
จากหน้าห้างซีคอนบางแค เดินตรงไปทางขวามือ จะเห็นตึกธนาคารยูโอบี
จากหน้าห้างซีคอนบางแค เดินตรงไปทางขวามือ จะเห็นตึกธนาคารยูโอบี
ห้างซีคอนบางแค
ห้างซีคอนบางแค
ธนาคารยูโอบี อยู่ระหว่าง ซอยเพชรเกษม 33/4-33/5
ธนาคารยูโอบี อยู่ระหว่าง ซอยเพชรเกษม 33/4-33/5
ธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม
ธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม

การเดินทางจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTบางซื่อ ไปที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ไปสนามบินดอนเมือง

รถไฟฟ้าสายสีแดง เริ่มต้นจากสถานีตลิ่งชัน ไปจนถึงสถานีรังสิต โดยเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ที่สถานีกลางบางซื่อ โดยเริ่มเดินขบวนแรกในเวลา 5.30 น. ไปจนถึงเวลา 24.00 น.

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง

มีทั้งหมด 13 สถานี โดยเริ่มจาก

1.สถานีตลิ่งชัน สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อรถไฟทางไกลได้

2.สถานีบางบำหรุ สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อสถานีรถไฟทางไกลได้

3.สถานีบางซ่อน สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้

4.สถานีกลางบางซื่อ สถานีนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน

5.สถานีจตุจักร

6.สถานีวัดเสมียนนารี

7.สถานีบางเขน

8.สถานีทุ่งสองห้อง

9.สถานีหลักสี่ สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้

10.สถานีการเคหะ

11.สถานีดอนเมือง สถานีนี้เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง และสถานีรถไฟทางไกล

12.สถานีหลักหก

13.สถานีรังสิต สถานีนี้เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟทางไกลได้

การเดินทางจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน สามารถมาลงที่สถานีกลางบางซื่อเพื่อเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงไปยังสนามบินดอนเมืองได้ที่สถานีกลางบางซื่อ แล้วเดินออกทางออกที่ 3 ไปยังอุโมงค์ทางเชื่อมเพื่อไปยังสถานีกลางบางซื่อ

รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน MRT สถานีบางซื่อ
รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน MRT สถานีบางซื่อ
รถไฟฟ้าสายสีแดง เลือกออกทางออกที่ 3 เพื่อไปที่สถานีกลางบางซื่อ
รถไฟฟ้าสายสีแดง เลือกออกทางออกที่ 3 เพื่อไปที่สถานีกลางบางซื่อ
เลือกออกที่ทางออกที่ 3 สถานีกลางบางซื่อ
เลือกออกที่ทางออกที่ 3 สถานีกลางบางซื่อ
เดินไปตามทางในอุโมงค์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าอาคารสถานีกลางบางซื่อ
เดินไปตามทางในอุโมงค์ จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าอาคารสถานีกลางบางซื่อ
ป้ายทางเข้าอาคารสถานีกลางบางซื่อ
ป้ายทางเข้าอาคารสถานีกลางบางซื่อ
ป้ายทางเข้าอาคารสถานีกลางบางซื่อ เพื่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง
ป้ายทางเข้าอาคารสถานีกลางบางซื่อ เพื่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง
เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ
เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง
เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติรถไฟฟ้าสายสีแดง สามารถรับได้ทั้งธนบัตรและเหรียญ
เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติรถไฟฟ้าสายสีแดง สามารถรับได้ทั้งธนบัตรและเหรียญ

การเดินทางไปถนนข้าวสารด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา Khaosan road

ถนนข้าวสาร เป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งแน่นขนัดไปด้วยแดนซ์คลับและบาร์กลางแจ้งอันพลุกพล่าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่คึกคักในยามค่ำคืนของย่านบางลำพู เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 – 24.00 น. ถนนข้าวสารเป็นถนนในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงครามไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงถนนตะนาวใกล้สี่แยกคอกวัว

การเดินทางมาที่ถนนข้าวสารด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา

นั่งเรือโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา มาลงที่ท่าเรือ ท่าพระอาทิตย์ แล้วเดินออกไปยังถนน จากนั้นให้เดินไปทางด้านขวามือ แล้วข้ามถนนเดินเข้าไปในซอยชนะสงคราม เดินไปจนถึงท้ายซอยแล้วเลี้ยวซ้ายแล้วเดินเรียบกำแพงวัดชนะสงครามไปเรื่อยๆ บริเวณนี้ก็จะเป็นย่านถนนข้าวสาร จะเริ่มเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมายนั่งอยู่หน้าร้านอาหาร

การนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเรือพระอาทิตย์นอกจากไปถนนข้าวสารแล้ว สามารถไปที่วัดชนะสงคราม และวัดบวรนิเวศวิหาร เพราะอยู่ในระแวกเดียวกัน

เรือด่วนเจ้าพระยา ธงส้มราคาตั๋ว 16 บาท
เรือด่วนเจ้าพระยา ธงส้มราคาตั๋ว 16 บาท
ลงที่ท่าพระอาทิตย์ เพื่อไปถนนข้าวสาร
ลงที่ท่าพระอาทิตย์ เพื่อไปถนนข้าวสาร
เดินตรงไปจนเจอถนน
เดินตรงไปจนเจอถนน
เมื่อเจอถนนแล้วเลี้ยวขวา
เมื่อเจอถนนแล้วเลี้ยวขวา
ข้ามถนนเดินเข้าไปในซอยชนะสงคราม
ข้ามถนนเดินเข้าไปในซอยชนะสงคราม
เดินจนสุดซอย แล้วเลี้ยวซ้าย
เดินจนสุดซอย แล้วเลี้ยวซ้าย

ถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสาร
ถนนข้าวสาร
ย่านบางลำพู ถนนข้าวสาร
ย่านบางลำพู ถนนข้าวสาร

การเดินทางไปสวนรถไฟ และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

สวนรถไฟ หรือ สวนวชิรเบญจทัศ เป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่ใกล้กับสวนจตุจักรและสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด 375 ไร่ แต่เดิมสวนรถไฟเป็นสนามกอล์ฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากมีมติจากคณะรัฐมนตรีสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นสวนสาธารณะในการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป

การเดินทางไปสวนรถไฟ โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาลงที่สถานีสวนจตุจักร เลือกออกทางออกประตู 2 สวนจตุจักร เมื่อเดินออกมานอกสถานีแล้ว เดินเข้าประตูเล็กๆ ทางด้านขวามือเข้าไปในสวนจตุจักร ไปยังถนนภายในสวน ให้เดินไปทางด้านขวามือ จะเจอสะพานแรกเดินข้ามสะพานไป แล้วเดินตรงไปผ่านที่จอดรถแล้วเจอประตูทางออกทางด้านหลังของสวนจตุจักร เมื่อออกจากประตูด้านหลังจะเจอทางเข้าสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์อยู่ฝั่งตรงข้าม และทางเข้าสวนรถไฟให้เดินตรงไปทางด้านขวามือประมาณ 2 กิโลเมตรก็จะเจอทางเข้าสวนรถไฟทางด้านซ้ายมือ

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร
ข้อมูลทางออกรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร
ข้อมูลทางออกรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร เลือกออกทางออกที่ 2 สวนจตุจักร
รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร เลือกออกทางออกที่ 2 สวนจตุจักร
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสวนจตุจักร
สวนจตุจักร
สวนจตุจักร
เจอสะพานแรกในสวนจตุจักร แล้วเดินข้ามสะพานไป
เจอสะพานแรกในสวนจตุจักร แล้วเดินข้ามสะพานไป
ข้ามสะพานมาแล้วเดินไปทางซ้ายมือ
เดินตรงไปที่จอดรถด้านหลัง
เดินตรงไปที่จอดรถด้านหลัง
ทางออกด้านหลังสวนจตุจักร
ทางออกด้านหลังสวนจตุจักร
ออกมาจะเจอทางเข้าสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ออกมาจะเจอทางเข้าสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ทางเข้าสวนรถไฟเดินตรงไปทางด้านขวามือ
ทางเข้าสวนรถไฟเดินตรงไปทางด้านขวามือ

การเดินทางไปห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM) ด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM) เป็นห้างหรูขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณซอยเจริญนคร ตั้งอยู่เลขที่ 299 ถ. เจริญนคร แขวง คลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เวลาเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00 -22.00 น. ทุกวันทำการ

ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM)
ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM)

การเดินทางมายังห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM) สามารถเดินทางได้ทั้งทางรถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีทอง รถไฟฟ้าใต้ดินและมาต่อเรือข้ามฟากไปยังไอคอนสยาม และการโดยสารด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา

การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มายังห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM) สามารถเดินทางได้ดังนี้

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงินมาลงที่สถานีหัวลำโพง เลือกออกทางออกที่ 1 ถนนมหาพฤฒาราม เมื่อออกมาจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว ใช้บริการวินมอเตอร์ไซด์ไปที่ท่าเรือสี่พระยาเพื่อไปห้างไอคอนสยาม ราคา 20 บาท ใช้เวลานั่งวินมอเตอร์ไซด์ประมาณ 5 นาที

และเมื่อมาถึงที่ท่าเรือสี่พระยา ให้เลือกใช้ทางออกที่ 2 เพื่อไปห้างไอคอนสยาม โดยเรือรับส่งข้ามฟาก ซึ่งเป็นบริการฟรีของห้างไอคอนสยาม

MRT Hua Lamphong (BL28) รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหัวลำโพง
MRT Hua Lamphong (BL28) รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหัวลำโพง
ทางออก MRT Hua Lamphong (BL28) รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหัวลำโพง
ทางออก MRT Hua Lamphong (BL28) รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหัวลำโพง
MRT Hua Lamphong (BL28) รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหัวลำโพง ทางออกที่ 1
MRT Hua Lamphong (BL28) รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีหัวลำโพง ทางออกที่ 1
วินมอเตอร์ไซด์หน้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพงทางออกที่ 1 ค่าบริการไปท่าเรือสี่พระยา 20 บาท
วินมอเตอร์ไซด์หน้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพงทางออกที่ 1 ค่าบริการไปท่าเรือสี่พระยา 20 บาท
ท่าเรือสี่พระยา บริการเรือรับ ส่ง ห้างไอคอนสยาม
ท่าเรือสี่พระยา บริการเรือรับ ส่ง ห้างไอคอนสยาม
เรือข้ามฟากของห้างไอคอนสยาม รับส่งท่าเรือสี่พระยา-ไอคอนสยาม
เรือข้ามฟากของห้างไอคอนสยาม รับส่งท่าเรือสี่พระยา-ไอคอนสยาม
ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM)
ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM)
ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM)
ห้างไอคอนสยาม (ICONSIAM)

10 ข้อควรรู้ก่อนมาเที่ยวเวียดนาม

ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักท่องเที่ยวคนไทยนิยมไปท่องเที่ยวเวียดนามเพราะอยู่ไม่ไกลจากประเทศไทยมากนัก โดยเมืองที่นักท่องเที่ยวนิยมไปได้แก่ เมืองดานัง เมืองมรดกโลกฮอยอัน เมืองซาปา เมืองฮานอย เมืองโฮจิมินห์ เมืองกวางนิงห์ เมืองเว้ เมืองดาลัด เมืองมุยเน่ และเมืองญาจาง

1.การเดินทางโดยเครื่องบินจากกรุงเทพฯ ประเทศไทยบินตรงไปเที่ยวเวียดนาม มีสายการบินที่ให้บริการได้แก่ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยเวียตเจ็ท สายการบินเวียดนาม สายการบินบางกอกแอร์เวย์ สายการบินไทยสไมล์ เป็นต้น การเดินทางใช้เวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที

สายการบินมาเวียดนาม
สายการบินมาเวียดนาม

2.สำหรับหนังสือเดินทางประเทศไทย (Thai Passport) สามารถเข้าประเทศเวียดนามได้ 30 วันโดยไม่ต้องทำวีซ่า

3.สกุลเงินเวียดนาม คือ สกุลเงินดง (Dong) โดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินไทยประมาณ 10,000 ดง = 15 บาท

เงินเวียดนาม
เงินเวียดนาม

4.เวียดนามมีทั้งหมด 63 จังหวัดและนคร โดยมี 5 นครสังกัดส่วนกลางได้แก่ กรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ นครดานัง เมืองท่าไฮฟอง และนครเกิ่นเทอ

เวียดนาม
เวียดนาม

5.เวลาระหว่าง เวียดนาม และ ประเทศไทย ไม่แตกต่างกัน Time zone เดียวกัน

6.ประเทศเวียดนามมีภาษาเวียดนามเป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการของประเทศ และประเทศเวียดนามมีประชากรประมาณ 98.17 ล้านคนในปี พ.ศ.2564

7.ปลั๊กไฟที่เวียดนาม เหมือนกับปลั๊กไฟที่ประเทศไทย

ปลั๊กไฟที่เวียดนาม
ปลั๊กไฟที่เวียดนาม

8.การซื้อของที่ตลาดสำหรับนักท่องเที่ยวต้องต่อรองราคา เพราะแม่ค้าจะตั้งราคาไว้สูงกว่าปกติ

ตลาดฮาน เวียดนาม
ตลาดฮาน เวียดนาม

9.ของฝากขึ้นชื่อเมื่อมาเที่ยวเวียดนามคือ กาแฟเวียดนาม กาแฟมะพร้าว กาแฟขี้ชะมด ชาเวียดนาม เยลลี่มะม่วง เม็ดบัวอบแห้ง สินค้าแฮนด์เมด หมวกงอบเวียดนาม ชุดอ๋าวหญ่ายชุดประจำชาติเวียดนาม โคมไฟเวียดนาม เป็นต้น

โคมไฟเวียดนาม
โคมไฟเวียดนาม

10.ประเทศเวียดนามขับรถทางด้านขวามือ ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่ขับรถทางด้านซ้ายมือ การบีบแตรถือเป็นมารยาทสำหรับการขับรถของคนเวียดนามในการแจ้งเตือนการให้ทาง

การขับรถของคนเวียดนาม
การขับรถของคนเวียดนาม