tiewgan.com

Think about Travel Think of Tiewgan.com

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมชื่อวัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)ให้ใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ชื่อเต็มคือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เป็นวัดประจำพระราชวังดุสิต วัดเบญจมบพิตรฯ ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา บริเวณถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30 – 17.30 น.

วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม

การเดินทางไปวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน MRT สถานีสามยอด
รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน MRT สถานีสามยอด

เนื่องจากวัดเบญจมบพิตร ไม่ได้อยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่บริเวณใกล้เคียงที่สุดคือ นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีสามยอด เลือกออกทางออกประตู 1 จากนั้นต่อด้วยรถแท็กซี่ ค่าโดยสารประมาณ 60 บาท กรณีที่การจราจรปกติไม่หนาแน่น

กรณีที่ขับรถไปเองสามารถจอดรถได้ที่ลานจอดรถบริเวณหน้าวัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม

 รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน MRT สถานีสามยอด เลือกออกทางออกที่ 1
รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน MRT สถานีสามยอด เลือกออกทางออกที่ 1
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม

ประวัติวัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม

วัดเบญจบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร WAT BENCHAMABOPHIT DUSIT WANARAM RATCHAWORAWIHAN เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดเก่าแก่เล็กๆ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อว่า วัดแหลม เพราะตั้งอยู่ปลายแหลมของที่สวนติดกับทุ่งนา และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากมีต้นไทรทองปรากฏอยู่ให้เห็น เมื่อปี พ.ศ. 2370 พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่2 ได้ทรงตั้งกองทัพรับกบฏเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังจากเสร็จจากการปราบกบฎแล้ว ได้ทรงปฎิสังขรวัด พร้อมกับสร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ 5องค์ เรียงรายอยู่หน้าวัด ต่อมารัชกาลที่4 ได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2442 รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างสวนดุสิตและพระราชวังดุสิต กินเนื้อที่ของวัดทำให้วัดมีพื้นที่น้อยลง ประกอบกับวัดกำลังมีสภาพทรุดโทรม พระองค์จึงทรงสถาปนาวัดใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนนามวัดเป็น วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม หมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใกล้สวนดุสิตอันเป็นพระราชฐาน พระอุโบสถทั้งหลัง สร้างด้วยหินอ่อน จากประเทศอิตาลี มีพระประธานเป็นพระพุทธชินราชจำลองมาจากองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลก

พระรูปจำลองรัชกาลที่ 5 ที่วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
พระรูปจำลองรัชกาลที่ 5 ที่วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม

พระอุโบสถ เป็นอาคารทรงจตุรมุข มีมุขเด็จยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาซ้อนกัน 5 ชั้น มุงกระเบื้องกาบูสีเหลืองเป็นกาบโค้ง

วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
พระประธาน พระพุทธชินราชจำลองจากองค์จริง จังหวัดพิษณุโลก
พระประธาน พระพุทธชินราชจำลองจากองค์จริง จังหวัดพิษณุโลก
โพธิมณฑลพุทธาณุสรณ์ สัตตมหาสถาน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โพธิมณฑลพุทธาณุสรณ์ สัตตมหาสถาน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงปลูก
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงปลูก

ปี พ.ศ.2434 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จไปราชการที่ประเทศอินเดีย และได้หน่อต้นพระศรีมหาโพธิ 3 ต้นจากพุทธคยา และได้ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาปี พ.ศ. 2442 ขณะที่ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ 1 ใน 3 ต้น มาปลูกไว้ที่สนามหญ้าด้านหลังพระอุโบสถ

หอระฆังบวรวงศ์ วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
หอระฆังบวรวงศ์ วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม

หอระฆังบวรวงศ์ เป็นหอระฆังทรงไทย หลังคาลดชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ผนังด้านนอกประกอบด้วยหินอ่อน สร้างด้วยทุนทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง ของผู้ที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และโปรดเกล้าฯ ให้นำระฆังจากวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวังบวรสถานมงคล จึงทรงตั้งชื่อหอระฆังนี้ว่า หอระฆังบวรวงศ์

พระที่นั่งทรงผนวช
พระที่นั่งทรงผนวช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รื้อพระที่นั่งทรงผนวชองค์เดิม จากพุทธรัตนสถาน ที่สวนศิวาลัย ภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งพระองค์เคยประทับในคราวทรงผนวช เมื่อ พ.ศ.2416 มาปลูกสำหรับเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม ลักษณะเป็นหมู่กุฏิประกอบด้วย พระที่นั่งทรงผนวช อยู่ด้านทิศเหนือ พระกุฏิ อยู่ด้านทิศใต้ กับกุฏิ 2 ห้อง 2 หลัง อยู่ด้านตะวันออก และตะวันตก มีหอเสวยกลาง มีลานหินอ่อนโดยรอบ ภายในพระที่นั่งทรงผนวช มีพระแท่นบรรทม พระบรมรูป เมื่อครั้งทรงผนวช พระบรมรูปสลักหินอ่อน พระพุทธรูป พระเสลี่ยงน้อย ที่ผนังเขียนภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ พระราชประวัติ พระราชจริยาวัตร ขนบธรรมเนียมประเพณีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 20 ภาพ

พระที่นั่งทรงผนวช
พระที่นั่งทรงผนวช
พระที่นั่งทรงธรรม
พระที่นั่งทรงธรรม
ศาลาบัณณรศภาค สร้างเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศก 119
ศาลาบัณณรศภาค สร้างเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศก 119
สะพานพระรูป
สะพานพระรูป
สะพานพระรูป
สะพานพระรูป
ศาลาหม่อมเฉื่อย
ศาลาหม่อมเฉื่อย

RELATED ARTICLES

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เที่ยวตลาดน้ำในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี ที่ตลาดน้ำสองคลอง (Songklong floating market)

ตลาดน้ำสองคลองตั้งอยู่ในเขตตลิ่งชัน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เลขที่ 111 วัดตลิ่งชัน 300 ถนน ชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ตั้งอยู่ในวัดตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ใกล้กับตลาดน้ำตลิ่งชันระยะทางห่างกันประมาณ 300 เมตร เปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. ตลาดน้ำสองคลองเป็นตลาดน้ำขนาดเล็กที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ไม่แออัด มีที่นั่งสำหรับนั่งทานอาหาร แบ่งออกเป็นสามโซน ในรูปอาคารตัว L อยู่ริมฝั่งคลอง ท้ายวัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำสองคลองตั้งอยู่ระหว่างคลองสองคลองเชื่อมต่อกันคือ คลองชักพระ และคลองตลิ่งชัน การเดินทางมาที่ตลาดน้ำสองคลองด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT วิธีเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาที่ตลาดน้ำสองคลองเป็นวิธีเดินทางที่ง่ายและสะดวกมากเนื่องจากในทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทางกรุงเทพฯ ได้จัดให้มีรถบัสไฟฟ้าไว้คอยให้บริการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางไปตลาดน้ำได้ฟรี ตั้งแต่เวลา 9.30 –…

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไปเที่ยวเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำในกรุงเทพฯ One day trip (Taling Chan Floating Market)

ตลาดน้ำตลิ่งชันเป็นตลาดน้ำที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี และสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ง่ายๆ โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT โดยเลือกมาลงที่สถานีบางขุนนนท์ ทางออกที่ 2 ตลาดน้ำตลิ่งชันเปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น ตั้งอยู่บริเวณหน้าสำนักงานเขตตลิ่งชัน เลขที่ 333 ถนนชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 วิธีเดินทางมาที่ตลาดน้ำตลิ่งชันโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT การเดินทางมาที่ตลาดน้ำตลิ่งชันให้เลือกใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีบางขุนนนท์ (BL04) จากนั้นเลือกออกทางออกที่ 2 เมื่อลงมาจากสถานีบางขุนนนท์ทางออกที่ 2 แล้ว มีสองวิธีเดินทางง่ายๆ และประหยัด เพื่อไปที่ตลาดน้ำตลิ่งชันได้คือ ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะมีรถไฟฟ้าให้บริการฟรี ซึ่งเป็นบริการพิเศษของกรุงเทพมหานคร ในการให้ความสะดวกแก่ประชาชน โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ 9.00 – 16.45…

35 คำศัพท์ภาษาสวาฮีลี (swahili) ควรรู้ก่อนไปเที่ยวเคนยา Kenya Africa

เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าได้รู้คำศัพท์เบื้องต้นของประเทศที่ไปเที่ยว จะทำให้เพิ่มความสนุกในการท่องเที่ยวได้มากขึ้น และทำให้คนท้องถิ่นรู้สึกประทับใจที่นักท่องเที่ยวสามารถพูดภาษาท้องถิ่นของประเทศตัวเองได้ ประเทศเคนยา เป็นประเทศนึงที่มีภาษาประจำถิ่นเป็นของตนเองคือ ภาษาสวาฮีลี ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาสวาฮีลี เป็นภาษาประจำชาติของประเทศเคนยา แทนซาเนีย ยูกันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) และยังใช้เป็นภาษากลางในแอฟริกาตะวันออก เคนยา มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตติดกับประเทศเอธิโอเปีย ประเทศโซมาเลีย ประเทศแทนซาเนีย ประเทศยูกันดา ประเทศเซาท์ซูดาน ทะเลสาบวิกตอเรีย และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงคือ ไนโรบี เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานที่โดดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า 35 ประโยคพื้นฐานภาษาสวาฮีลีที่ควรรู้เมื่อมาเที่ยวประเทศเคนยา tiewgan View all posts by tiewgan | Website

Day3 ท่องซาฟารี ตามรอยสารคดีอาณาจักรสัตว์โลก มาไซมาร่า เคนยา Safari Masai Mara Kenya

ที่อุทยานแห่งชาติมาไซมาร่า Masai Mara นั้น มีแคมป์และโรงแรมที่พักอยู่หลายแห่งด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างๆ กัน ในหลายบริเวณ เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติมาไซมาร่า กว้างใหญ่มาก โรงแรมที่พักมักจะสร้างให้มีรูปแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ หลังจากพักที่โรงแรม Mara Serena Safari lodge มาแล้ว 2 คืน วันนี้จะย้ายไปพักอีกที่พักนึงซึ่งอยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำ ในเช้าวันนี้สามารถเช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมได้ไม่เกิน 9 โมงเช้า เช้านี้ทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้ว Ranger มารับและก็ออกเดินทางพร้อมกับการทำ Game Drive ไปด้วย ระหว่างทางเช้านี้ก็ได้เจอกับยีราฟ ซึ่งมองเห็นอยู่กลางทุ่งหญ้าอยู่ไกล ๆ จากนั้นเมื่อ Ranger ขับรถมาเรื่อยๆ ก็ต้องหยุดรถเพราะมีช้างซึ่งกำลังกินหญ้าอยู่ข้างทาง ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนมาก ในการจะขับรถผ่านไปได้นั้น จึงต้องดูจังหวะที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้เข้าใกล้ช้างมากเกินไปและเพื่อไม่ทำให้ช้างตกใจ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะเกิดอันตรายได้ ระหว่างเส้นทางที่ขับผ่านไปยังที่พักแห่งใหม่นั้นต้องขับอ้อมไปไกลมาก เพื่อไปยังสะพานข้ามแม่น้ำมาร่า ในระหว่างเส้นทางต้องขับขึ้นไปบนพื้นที่ภูเขาสลับกับที่ราบ ตามเส้นทางจะมีก้อนหินอยู่ตลอดเส้นทาง…

Leave a Reply

google.com, pub-2053835749703173, DIRECT, f08c47fec0942fa0