Tag Archives: เยาวราช

นั่งเรือไปเยาวราช สำเพ็ง

การเดินทางไปเยาวราช และตลาดสำเพ็งนั้น นอกจากไปด้วยรถเมล์ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT แล้ว ยังสามารถเดินทางไปได้ด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการเดินทางที่สะดวกและมาได้ง่าย การเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา มีให้บริการทุกวัน ในเส้นทางเดินเรือโดยสารธงส้ม ธงเหลือง และธงเขียว การเดินทางมาเยาวราชและตลาดสำเพ็งนั้นให้ใช้บริการเรือธงส้ม มาลงที่ท่าเรือราชวงศ์ ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย

เรือธงส้ม ที่ท่าเรือราชวงศ์
เรือธงส้ม ที่ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์
ป้ายเส้นทางเดินเรือเจ้าพระยา
ป้ายเส้นทางเดินเรือเจ้าพระยา
ท่าเรือราชวงศ์
ท่าเรือราชวงศ์

เมื่อขึ้นมาจากเรือที่ท่าเรือราชวงศ์เดินตรงไปตามทางเดิน แล้วเลี้ยวขวาเพื่อเดินไปที่ทางออกถนนราชวงศ์ แล้วเดินชิดขวาตรงไปเรื่อย ๆ ประมาณ 400 เมตร ก็จะเจอตลาดสำเพ็ง และ เดินตรงไปอีก จนเจอแยกไฟแดงใหญ่ให้เลี้ยวขวามือ ก็จะเจอเยาวราช

ถนนราชวงศ์
ถนนราชวงศ์
เดินชิดขวาบนถนนราชวงศ์ตรงไป
เดินชิดขวาบนถนนราชวงศ์ตรงไป
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
เยาวราช
เยาวราช
เยาวราช
เยาวราช
เยาวราช
เยาวราช

เรือโดยสารธงส้ม

เส้นทางจากนนทบุรี ไป วัดราชสิงขร เที่ยวแรกเริ่มเวลา 6.00 น. เที่ยวสุดท้าย 18.10 น.
และจากวัดราชสิงขร ไป นนทบุรี เที่ยวแรกเวลา 6.20 น. เที่ยวสุดท้าย 18.10 น.
ให้บริการทุกวันจันทร์-วันเสาร์ และวันนักขัตฤกษ์ ยกเว้นวันอาทิตย์
ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย

เรือโดยสารธงเหลือง

เส้นทางจากนนทบุรี ไป สาทร เที่ยวแรกเริ่มเวลา 6.00 น. เที่ยวสุดท้าย 8.05 น.
และจากเส้นทางสาทร ไป นนทบุรี เที่ยวแรกเริ่มเวลา 17.00 น. เที่ยวสุดท้าย 19.05 น.
ให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์
ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

เรือโดยสารธงเขียว

เส้นทางปากเกร็ด-สาทร ให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เที่ยวแรกเริ่มเวลา 6.10 น. เที่ยวสุดท้าย 7.45 น.
และเส้นทางจากสาทร-ปากเกร็ด เที่ยวแรกเริ่มเวลา 16.00 น. เที่ยวสุดท้าย 17.45 น.
ให้บริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์
ค่าโดยสาร:
ปากเกร็ด-นนทบุรี 13 บาท
นนทบุรี-สาทร 20 บาท
ปากเกร็ด-สาทร 32 บาท

เดินทางไปตลาดสำเพ็ง ด้วย MRT ไปได้ง่ายๆ แม้จะไม่เคยไป

สำเพ็ง เป็นย่านการค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านการค้าส่งที่สำคัญ มีสินค้าเกือบทุกประเภท ทุกชนิด ที่พ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเพื่อไปขายปลีกกันอีกที แต่ลูกค้าทั่วไป ก็นิยมมาหาซื้อสินค้าแบบซื้อปลีกได้ด้วยเช่นกัน ตลาดสำเพ็งตั้งอยู่ในแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ อยู่ใกล้กับย่านเยาวราช, ถนนราชวงศ์ และต่อเนื่องไปถึงสะพานหัน, พาหุรัดและวังบูรพา

ตลาดกลางวัน เปิดทุกวัน ตั้งแต่ จันทร์ – อาทิตย์ เวลาเปิด ประมาณ 8.00 – 18.00 น.
ตลาดเช้าสำเพ็ง เปิดทำการ คืนวันจันทร์ – คืนวันเสาร์ ตั้งแต่ประมาณ ตีสี่ – หกโมงเช้า
(คืนวันอาทิตย์ ต่อเนืองเช้าวันจันทร์ หยุด) ตั้งแต่บริเวณ ถนนราชวงศ์ และ ตามถนนวานิช 1 ไปจนถึงแถบสะพานหัน ตลาดเช้าจะมีสินค้า แบบค้าส่ง เป็นหลัก ส่วนน้อยที่จะขายปลีก แต่ราคาจะถูกกว่าช่วงกลางวัน อยู่พอสมควร

ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง

การเดินทางไปตลาดสำเพ็งด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

เริ่มต้นโดยการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีวัดมังกร เลือกออกทางออกที่ 1 ถนนแปลงนาม

MRT Wat Mangkon station BL29
MRT Wat Mangkon station BL29
MRT Wat Mangkon station BL29
MRT Wat Mangkon station BL29
เลือกออกทางออก 1 ถนนแปลงนาม (Exit1)
เลือกออกทางออก 1 ถนนแปลงนาม (Exit1)
เลือกออกทางออก 1 ถนนแปลงนาม (Exit1)

เมื่อขึ้นมาจาก MRT จะเจอถนนแปลงนาม เดินไปจนสุดถนนแปลงนามจนเจอถนนเยาวราช แล้วเลี้ยวขวา

เดินตรงไปบนถนนแปลงนาม
เดินตรงไปบนถนนแปลงนาม
ถนนแปลงนาม
ถนนแปลงนาม
สุดถนนแปลงนาม เดินไปทางขวามือ ด้านร้านข้าวเหนียวมะม่วงฝั่งนี้
สุดถนนแปลงนาม เดินไปทางขวามือ ด้านร้านข้าวเหนียวมะม่วงฝั่งนี้
เดินเรียบถนนตรงไป บนเส้นถนนเยาวราช ประมาณ 200 เมตร แล้วข้ามถนนไปฝั่งตลาดเก่าเยาวราช
เดินเรียบถนนตรงไป บนเส้นถนนเยาวราช ประมาณ 200 เมตร แล้วข้ามถนนไปฝั่งตลาดเก่าเยาวราช
ข้ามถนนไปฝั่งตลาดเก่าเยาวราช
ข้ามถนนไปฝั่งตลาดเก่าเยาวราช
เดินตรงไปตามเส้นทางนี้ ประมาณ 100 เมตร แล้วเลี้ยวขวาตรงทางแยก
เดินตรงไปตามเส้นทางนี้ ประมาณ 100 เมตร แล้วเลี้ยวขวาตรงทางแยก
เมื่อเห็นศาลเจ้าพ่อม้าเลี้ยวขวา ก็จะเจอตลาดสำเพ็ง
เมื่อเห็นศาลเจ้าพ่อม้าเลี้ยวขวาตรงทางแยก ก็จะเจอตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง
ตลาดสำเพ็ง

ใช้บริการ MRT เดินทางไปแก้ชง และขอพรเทพเจ้า ที่วัดเล่งเน่ยยี่ เยาวราช

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดมังกร เดิมชื่อ วัดเล่งเน่ยยี่ ตั้งอยู่ย่านเจริญกรุง กรุงเทพฯ เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวต่างชาตินิยมไปกราบไหว้ ขอพรกับองค์เทพเจ้าคุ้มครองชะตา ‘องค์ไท่ส่วยเอี๊ย’ เพื่อแก้ปีชง ทำบุญสะเดาะเคราะห์ และกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในวัดนี้

องค์เทพเจ้า และองค์พระโพธิสัตว์ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
องค์เทพเจ้า และองค์พระโพธิสัตว์ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
พระโพธิสัตว์ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
พระโพธิสัตว์ วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
องค์เทพเจ้า วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
องค์เทพเจ้า วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ กับบัตร KTC PROUD เป็นทั้งบัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน
สนใจคลิกเลย
https://cl.accesstrade.in.th/0021140011q8
ป้ายรวมเทพเจ้า ทุกองค์ ขอพรทุกเรื่องสมปรารถนา
ป้ายรวมเทพเจ้า ทุกองค์ ขอพรทุกเรื่องสมปรารถนา

วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่างซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร
วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกร

วัดเล่งเน่ยยี่ เป็น 1 ใน 3 วัดมังกร ตามความเชื่อของชาวจีนว่ามังกรเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหัว ส่วนตัว และ ส่วนหาง ซึ่งส่วนหัวมังกรก็อยู่ในวัดเล่งเน่ยยี่แห่งนี้นี่เอง ในช่วงเทศกาลตรุษจีนหลังจากวันตรุษจีนไปแล้วตลอดทั้งเดือน ทางวัดมีจัดพิธีมงคลเจริญภาวนาจิต

การเดินทาง

การเดินทางมายังวัดมังกร สามารถเดินทางได้สะดวกโดยใช้บริการของรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีวัดมังกร ออกทางออกที่ 3 เลี้ยวขวามือ เดินไปประมาณ 50 เมตร ก็จะเจอวัดมังกรอยู่ด้านขวามือ

MRT Wat Mangkon (BL29) สถานีวัดมังกร
MRT Wat Mangkon (BL29) สถานีวัดมังกร
ออกทางออกที่ 3 ไปวัดเล่งเน่ยยี่
ออกทางออกที่ 3 ไปวัดเล่งเน่ยยี่

การแต่งกาย

ควรแต่งกายด้วยความเรียบร้อย สำหรับสุภาพสตรี ห้ามแต่งตัวรัดรูป ห้ามนุ่งกางเกง หรือ กระโปรงสั้น เข้าไปเนื่องจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ทำไมต้องไหว้แก้ชง? กับ เทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย

เทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย เป็นเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตาชีวิต ตามหลักโหราศาสตร์จีน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความดีความชั่วประจำปีของมวลมนุษย์ และยังเป็นเทพเจ้าอันเก่าแก่ของจีนได้รับความเคารพศรัทธามากว่า 3,000 ปี หากเทียบกับความเชื่อของคนไทยพุทธก็คล้ายๆ กับพระประจำวันเกิดนั่นเอง

เทพเจ้า ไท่ส่วยเอี๊ย วัดเล่งเน่ยยี่
เทพเจ้า ไท่ส่วยเอี๊ย วัดเล่งเน่ยยี่

ชาวจีนที่นับถือลัทธิเต๋าเชื่อกันว่า เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย เป็นเทพเจ้าที่ใกล้ชิดกับการกระทำทั้งดีชั่วของมนุษย์มากที่สุด ท่านจึงสามารถดลบันดาลบรรเทาโทษภัยให้น้อยลง หรือขจัดเภทภัยได้ ท่านได้รับบัญชามาจากสวรรค์ในการทำหน้าที่ตรวจตราดูแลความดีความชั่วของมนุษย์ในแต่ละรอบปี และยังมีความผูกพันกับอายุขัยของแต่ละคนอีกด้วย อิทธิฤทธิ์ของท่านมีผลโดยตรงกับมนุษย์ ดังนั้นผู้ที่ต้องการขจัดปัดเป่าภัยพิบัติต่างๆ จึงนิยมบูชาเทพเจ้าไท้ส่วยด้วยการ “ไหว้เจ้า” ในช่วงตรุษจีนทุกปี

วิธีการไหว้แก้ชง

ทำบุญชุดไหว้ ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำมัน ผลไม้มงคล ของวัดเล่งเน่ยยี่
ชุดทำบุญสำหรับไหว้แก้ชงและขอพร ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำมัน ผลไม้มงคล ของวัดเล่งเน่ยยี่

ทำบุญซื้อปัจจัยถวายของต่างๆ สำหรับแก้ชง ที่วัดได้ ซึ่งประกอบไปด้วยธูปเทียน น้ำมันตะเกียง เครื่องกระดาษ ดอกไม้ ผลไม้ที่เป็นมงคล

การไหว้แก้ชง และ ขอพร อนุญาตให้ทำด้านนอกเท่านั้น ไม่อนุญาตภายในอาคารวัด

ลานบริเวณยืนปัดตัว 12 ครั้ง หันหน้าไปหารูปเทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย
ลานบริเวณยืนปัดตัว 12 ครั้ง หันหน้าไปหารูปเทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย
  1. เขียนชื่อ อายุ วัน เดือน ปี เกิด เวลาตกฟาก ปีนักษัตร (ในใบสีแดงเท่านั้น)
ด้านในอาคารมีปากกาสำหรับเขียน ชื่อที่อยู่

2. นำชุดไหว้ไปไหว้เทพเจ้าแห่งดวงชะตา เทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย

ที่วางของไหว้เทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย ด้านนอก
ที่วางของไหว้เทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย ด้านนอก

3. อธิษฐานขอบารมีจากเทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย ให้คุ้มครอง แคล้วคลาดปลอดภัย

กระถางธูปใหญ่ จุดปักธูป
กระถางธูปใหญ่ จุดปักธูป หน้าพระเมตไตรยโพธิสัตว์
พระเมตไตรยโพธิสัตว์
พระเมตไตรยโพธิสัตว์

4. นำกระดาษสีแดงที่เขียน ชื่อ อายุ วัน เดือน ปี เกิด เวลาตกฟาก ปีนักษัตร ปัดตัว 12 ครั้ง ปัดจากศรีษระ จนถึงเท้า ตลอดตัว (หากมาแก้ชง หรือ ขอพร แทนคนอื่นไม่ต้องปัดตัว)

5. เมื่อปัดตัวเสร็จนำกระดาษสีแดง ไปใส่ตะกร้าที่ทางวัดเตรียมไว้ หน้าเทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย (ไม่ต้องเผา เพราะปลายปีทางวัดจะทำพิธีเผาพร้อมกัน)

ตารางเทียบอายุ ปีฉลู พ.ศ.2564
ตารางเทียบอายุ ปีฉลู พ.ศ.2564

การเข้าไปภายในบริเวณอาคารวัดเพื่อไหว้เทพเจ้าและพระโพธิสัตว์ จะเปิดให้เข้าชมเป็นรอบๆ รอบละ 200 คน

ปีชง พ.ศ.2564

ปีมะแม (ชง ปะทะ)

ปีฉลู (คัก ติดขัด)

ปีจอ (ผั๋ว สุขภาพ)

ปีมะโรง (เฮ้ง เคราะห์กรรม)

วันว่างไปเดิน กิน เที่ยว ตลาดน้อย ถ่ายรูปสตรีทอาร์ท กันเถอะ

ตลาดน้อย พื้นที่เล็ก ๆ ที่หลอมรวมวัฒนธรรมชุมชนจีนไว้มากมาย เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่

Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย

โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราชและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย

มีเวลาครึ่งวันก็สามารถมาเดินเที่ยวถ่ายรูปเก๋ๆ กับสตรีทอาร์ทที่ตลาดน้อยได้ โดยเดินลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ จะมีสตรีทอาร์ทซ่อนอยู่

Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ กับบัตร KTC PROUD เป็นทั้งบัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน
สนใจคลิกเลย
https://cl.accesstrade.in.th/0021140011q8
Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย

สถานที่ๆ น่าสนใจในย่านตลาดน้อย ได้แก่ ศาลเจ้าโจวซือกง บ้านโซวเฮงไถ่ โบสถ์กาลหว่าร์, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และภาพวาดสตรีทอาร์ทที่ซ่อนอยู่ในมุมต่างๆ

ศาลเจ้าโรงเกือก ตลาดน้อย
ศาลเจ้าโรงเกือก ตลาดน้อย

ศาลเจ้าโรงเกือก ตั้งอยู่ที่ตลาดน้อย ซอยเจริญกรุง 24 เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่พ่อค้าชาวจีนฮากกา หรือ จีนแคะ อัญเชิญมาจากเมืองจีนมานานกว่าร้อยปี ชาวจีนแคะ ย่านตลาดน้อย มีความชำนาญในด้านเครื่องเหล็กและเครื่องจักรกล ศาลเจ้านี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลเจ้าโรงเกือก เกือกในที่นี้หมายถึงเกือกม้า

ศาลเจ้าโรงเกือก
ศาลเจ้าโรงเกือก
โบสถ์กาลหว่าร์
โบสถ์กาลหว่าร์

โบสถ์กาลหว่าร์หรือวัดแม่ลูกประคำ เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทรงกอทิก ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ

บรรยากาศตรอกซอกซอยในตลาดน้อย
บรรยากาศตรอกซอกซอยในตลาดน้อย

วิธีเดินทาง

การเดินทางมาตลาดน้อยได้ง่ายที่สุดคือเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาลงที่สถานีหัวลำโพง ออกทางออกที่ 1 ถนนมหาพฤฒาราม นั่งวินมอเตอร์ไซต์ ไปที่เจริญกรุง 22 (ค่ารถ 20 บาท)

Street Art ตลาดน้อย
Street Art ตลาดน้อย