tiewgan.com

Think about Travel Think of Tiewgan.com

สภากาชาดไทย (Thai Red Cross Society) เป็นองค์กรการกุศลของประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้มีหน้าที่หลักในการจัดหาโลหิต ให้มีปริมาณเพียงพอปลอดภัย และมีคุณภาพสูงสุดจากผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนเพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศทั้งในรูปแบบโลหิต ส่วนประกอบโลหิต และ ผลิตภัณฑ์โลหิต ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ

สภากาชาดไทย ตั้งอยู่เลขที่ 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

วิธีเดินทางมาสภากาชาดไทย โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีสามย่าน เลือกออกทางออกที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

MRT Sam Yan Station (BL27)
MRT Sam Yan Station (BL27) สถานีสามย่าน
Exit no.2 Chulalongkorn University
Exit no.2 Chulalongkorn University ทางออกที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ กับบัตร KTC PROUD เป็นทั้งบัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน
สนใจคลิกเลย
https://cl.accesstrade.in.th/0021140011q8
ขึ้นมาจากสถานี MRT สามย่านจะเจอจามจุรีแสควร์ ให้เดินไปทางซ้ายมือ
ขึ้นมาจากสถานี MRT สามย่านจะเจอจามจุรีแสควร์ ให้เดินไปทางซ้ายมือ
เดินตรงไปตามถนน
เดินตรงไปเรื่อยๆ ตามถนน
จนเจอป้ายสถานเสาวภา สภากาชาดไทย เลี้ยวซ้ายเข้าไปขางใน
จนเจอป้ายสถานเสาวภา สภากาชาดไทย เลี้ยวซ้ายเข้าไปขางใน
อาคารศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย
อาคารศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย

เวลาทำการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

วันและเวลาเปิดทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 19.30 น.

เสาร์, อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 15.30 น.

การบริจาคโลหิตสามารถบริจาคได้ทุกๆ 3 เดือน สำหรับคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง การนำโลหิตออกจากร่างกายผู้บริจาคแต่ละครั้งประมาณ 350-450 มิลลิลิตร ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค

คุณสมบัติของผู้มาบริจาคเลือด

  • อายุ 18 – 60 ปี
  • น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 45 กิโลกรัม
  • สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ลมชัก
  • นอนหลับพักผ่อนเพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • ควรรับประทานอาหารก่อนบริจาคเลือดภายใน 4 ชั่วโมง
  • ไม่อยู่ในระหว่างกินยาปฏิชีวนะ หรือยากันเลือดแข็ง
  • ไม่ได้รับการถอนฟันภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด รวมทั้งไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อตามร่างกาย
  • ไม่มีประวัติเคยเป็น หรือตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซี หรือเชื้อโรคเอดส์
  • ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี
  • ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติด
  • ไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่มาจากการบริจาคเลือดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
  • ผู้บริจาคเพศหญิงต้องไม่อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

ขั้นตอนการเข้ามาบริจาคเลือดที่สภากาชาดไทย

  1. กรอกข้อมูลผู้สมัครบริจาคโลหิต ชั่งน้ำหนัก และ วัดความดัน
แบบฟอร์มสมัครผู้บริจาคโลหิต
วัดความดัน กับเครื่องวัดความดันอัตโนมัติ

2. เข้าคิวลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิต ใช้บัตรประชาชนหรือบัตรที่รัฐออกให้ เพื่อลงทะเบียน เมื่อลงทะเบียนเสร็จให้กดบัตรคิว เพื่อเข้าตรวจ

ลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิต

3. รอเรียกคิวเพื่อเข้าตรวจกรุ๊ปเลือด และ สอบถามประวัติ

4. เมื่อผ่านการตรวจเลือดและการสอบถามแล้ว ให้ขึ้นมาชั้น 2 กดคิวรอเรียกเข้าไปบริจาคเลือด

5. เข้าไปบริจาคโลหิต สามารถเลือกได้ว่าจะเจาะเลือดมือซ้าย หรือ มือขวา เลือกมือข้างที่ถนัด

สิทธิพิเศษในการรักษาพยาบาลของผู้บริจาคโลหิต

  • ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 16 ครั้งขึ้นไป ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี ปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษ ตามสิทธิ์จากหน่วยงานต้นสังกัด ส่วนที่เกินได้รับการลดหย่อนร้อยละ 50 สำหรับผู้ไม่มีสิทธิ์ดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
  • ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป ไดรับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้ แต่ถ้าอยู่ห้องพิเศษจ่ายค่าห้องพิเศษและอาหารพิเศษร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้
  • ผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 24 ครั้งขึ้นไป ไม่คิดมูลค่าการรักษาพยาบาล แต่ถ้าอยู่ห้องพิเศษจ่ายค่าห้องพิเศษและอาหารพิเศษร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดไว้

ข้อปฏิบัติก่อนมาบริจาคโลหิต

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • ควรมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดีทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
  • ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 3-4 แก้วก่อนบริจาค อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
  • ควรรับประทานอาหารมาก่อนให้เรียบร้อย และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

RELATED ARTICLES

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เที่ยวตลาดน้ำในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี ที่ตลาดน้ำสองคลอง (Songklong floating market)

ตลาดน้ำสองคลองตั้งอยู่ในเขตตลิ่งชัน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เลขที่ 111 วัดตลิ่งชัน 300 ถนน ชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ตั้งอยู่ในวัดตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ใกล้กับตลาดน้ำตลิ่งชันระยะทางห่างกันประมาณ 300 เมตร เปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. ตลาดน้ำสองคลองเป็นตลาดน้ำขนาดเล็กที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ไม่แออัด มีที่นั่งสำหรับนั่งทานอาหาร แบ่งออกเป็นสามโซน ในรูปอาคารตัว L อยู่ริมฝั่งคลอง ท้ายวัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำสองคลองตั้งอยู่ระหว่างคลองสองคลองเชื่อมต่อกันคือ คลองชักพระ และคลองตลิ่งชัน การเดินทางมาที่ตลาดน้ำสองคลองด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT วิธีเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาที่ตลาดน้ำสองคลองเป็นวิธีเดินทางที่ง่ายและสะดวกมากเนื่องจากในทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทางกรุงเทพฯ ได้จัดให้มีรถบัสไฟฟ้าไว้คอยให้บริการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางไปตลาดน้ำได้ฟรี ตั้งแต่เวลา 9.30 –…

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไปเที่ยวเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำในกรุงเทพฯ One day trip (Taling Chan Floating Market)

ตลาดน้ำตลิ่งชันเป็นตลาดน้ำที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี และสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ง่ายๆ โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT โดยเลือกมาลงที่สถานีบางขุนนนท์ ทางออกที่ 2 ตลาดน้ำตลิ่งชันเปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น ตั้งอยู่บริเวณหน้าสำนักงานเขตตลิ่งชัน เลขที่ 333 ถนนชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 วิธีเดินทางมาที่ตลาดน้ำตลิ่งชันโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT การเดินทางมาที่ตลาดน้ำตลิ่งชันให้เลือกใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีบางขุนนนท์ (BL04) จากนั้นเลือกออกทางออกที่ 2 เมื่อลงมาจากสถานีบางขุนนนท์ทางออกที่ 2 แล้ว มีสองวิธีเดินทางง่ายๆ และประหยัด เพื่อไปที่ตลาดน้ำตลิ่งชันได้คือ ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะมีรถไฟฟ้าให้บริการฟรี ซึ่งเป็นบริการพิเศษของกรุงเทพมหานคร ในการให้ความสะดวกแก่ประชาชน โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ 9.00 – 16.45…

35 คำศัพท์ภาษาสวาฮีลี (swahili) ควรรู้ก่อนไปเที่ยวเคนยา Kenya Africa

เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าได้รู้คำศัพท์เบื้องต้นของประเทศที่ไปเที่ยว จะทำให้เพิ่มความสนุกในการท่องเที่ยวได้มากขึ้น และทำให้คนท้องถิ่นรู้สึกประทับใจที่นักท่องเที่ยวสามารถพูดภาษาท้องถิ่นของประเทศตัวเองได้ ประเทศเคนยา เป็นประเทศนึงที่มีภาษาประจำถิ่นเป็นของตนเองคือ ภาษาสวาฮีลี ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาสวาฮีลี เป็นภาษาประจำชาติของประเทศเคนยา แทนซาเนีย ยูกันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) และยังใช้เป็นภาษากลางในแอฟริกาตะวันออก เคนยา มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตติดกับประเทศเอธิโอเปีย ประเทศโซมาเลีย ประเทศแทนซาเนีย ประเทศยูกันดา ประเทศเซาท์ซูดาน ทะเลสาบวิกตอเรีย และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงคือ ไนโรบี เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานที่โดดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า 35 ประโยคพื้นฐานภาษาสวาฮีลีที่ควรรู้เมื่อมาเที่ยวประเทศเคนยา tiewgan View all posts by tiewgan | Website

Day3 ท่องซาฟารี ตามรอยสารคดีอาณาจักรสัตว์โลก มาไซมาร่า เคนยา Safari Masai Mara Kenya

ที่อุทยานแห่งชาติมาไซมาร่า Masai Mara นั้น มีแคมป์และโรงแรมที่พักอยู่หลายแห่งด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างๆ กัน ในหลายบริเวณ เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติมาไซมาร่า กว้างใหญ่มาก โรงแรมที่พักมักจะสร้างให้มีรูปแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ หลังจากพักที่โรงแรม Mara Serena Safari lodge มาแล้ว 2 คืน วันนี้จะย้ายไปพักอีกที่พักนึงซึ่งอยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำ ในเช้าวันนี้สามารถเช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมได้ไม่เกิน 9 โมงเช้า เช้านี้ทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้ว Ranger มารับและก็ออกเดินทางพร้อมกับการทำ Game Drive ไปด้วย ระหว่างทางเช้านี้ก็ได้เจอกับยีราฟ ซึ่งมองเห็นอยู่กลางทุ่งหญ้าอยู่ไกล ๆ จากนั้นเมื่อ Ranger ขับรถมาเรื่อยๆ ก็ต้องหยุดรถเพราะมีช้างซึ่งกำลังกินหญ้าอยู่ข้างทาง ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนมาก ในการจะขับรถผ่านไปได้นั้น จึงต้องดูจังหวะที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้เข้าใกล้ช้างมากเกินไปและเพื่อไม่ทำให้ช้างตกใจ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะเกิดอันตรายได้ ระหว่างเส้นทางที่ขับผ่านไปยังที่พักแห่งใหม่นั้นต้องขับอ้อมไปไกลมาก เพื่อไปยังสะพานข้ามแม่น้ำมาร่า ในระหว่างเส้นทางต้องขับขึ้นไปบนพื้นที่ภูเขาสลับกับที่ราบ ตามเส้นทางจะมีก้อนหินอยู่ตลอดเส้นทาง…

Leave a Reply

google.com, pub-2053835749703173, DIRECT, f08c47fec0942fa0