tiewgan.com

Think about Travel Think of Tiewgan.com

พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา พันท้ายนรสิงห์ มีชื่อเดิมว่า “สิน” เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันคือ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) มีภรรยาชื่อ “นวล” หรือ “ศรีนวล” ได้รู้จักกับพระเจ้าเสือด้วยการแข่งขันชกมวยไทยกัน มื่อครั้งที่พระองค์แปลงองค์มาเป็นชาวบ้านธรรมดาและทรงโปรดในอุปนิสัยใจคอของนายสิน และต่อมานายสินได้เข้ามารับราชการเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ และมีบรรดาศักดิ์เป็น “พัน”

รูปปั้นจำลองพันท้ายนรสิงห์ ที่ศาลพันท้ายนรสิงห์
รูปปั้นจำลองพันท้ายนรสิงห์ ที่ศาลพันท้ายนรสิงห์
เรือนไทยจำลองที่ประทับพระเจ้าเสือ
เรือนไทยจำลองที่ประทับพระเจ้าเสือ

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ดตกปลาตะเพียน ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย และมีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง และเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเสือ จนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิด

เรือโบราณ
เรือโบราณ

เรือโบราณ เรือขุดโบราณสร้างจากไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ มีความยาว 19.47 เมตร กว้าง 2.09 เมตร สูง 1 เมตร และกาบเรือหนา 7.5 ซ.ม. คาดว่ามีอายุกว่า 300 ปี ขุดพบที่หมู่ 6 ต.พันท้ายนรสิงห์ ในที่ดินของนายไล้ นางสมจิตร แตงถมยา ซึ่งเจ้าของเรือได้นำมาบริจาคไว้ที่ศาลพันท้ายนรสิงห์ ชาวบ้านแถวนี้เชื่อว่าเรือลำนี้อาจเป็นเรือในขบวนเสด็จหรืออาจเป็นเรือลำเลียงทหารในอดีต

เรือพระที่นั่งจำลอง
เรือพระที่นั่งจำลอง

การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองในบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์ได้พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวัง แต่ก็ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งได้ชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่าความผิดในครั้งนี้มีโทษถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่า “ถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นมีมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสีย” พันท้ายนรสิงห์จึงได้กราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณีแก่พระเจ้าเสือ เมื่อพระเจ้าเสือทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัย มิใช่ด้วยความประมาทแต่อย่างใด พระองค์จึงพระราชทานพระอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเสีย เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมพระราชกำหนดกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนแก่พระเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป

หลักประหารท่านพันท้ายนรสิงห์
หลักประหารท่านพันท้ายนรสิงห์

พระเจ้าเสือทรงโปรดให้เหล่าฝีพายช่วยกันปั้นดินเสมือนเป็นพันท้ายนรสิงห์แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระเจ้าเสือ จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใด ก็ทรงจำพระทัยปฏิบัติตามคำขอของพันท้ายนรสิงห์ จึงมีพระราชกำหนดดำรัส สั่งให้เพชรฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์ และโปรดให้ตั้งศาลขึ้นสูงเพียงตานำศีรษะพันท้ายนรสิงห์ กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชย ซึ่งหักนั้นขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาลนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี และการรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต ภายหลังเหตุการณ์นั้นสมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงโปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ

ศาลเพียงตา
ศาลเพียงตา
ศาลเพียงตา
ศาลเพียงตา

ตำนานของพันท้ายนรสิงห์นั้น ได้สร้างความศรัทธา และความนับถือ ในด้านความซื่อสัตย์และจงรักภักดี จึงควรนำความดี ความซื่อสัตย์ ของท่านพันท้ายนรสิงห์มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวและถือปฏิบัติตน เพื่อให้มีความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง

ปัจจุบันมีสถานที่รำลึกหรือเกี่ยวเนื่องกับพันท้ายนรสิงห์หลายแห่ง แต่ศาลพันท้ายนรสิงห์แห่งแรก ตั้งอยู่ที่บริเวณปากคลองโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เชื่อว่าเป็นศาลพันท้ายนรสิงห์ที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นจุดที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต

ศาลพันท้ายนรสิงห์
ศาลพันท้ายนรสิงห์

เวลาเปิด-ปิด ศาลนท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

วันจันทร์ ถึง ศุกร์ 08.00 – 17.00 น.

วันเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 08.00 – 18.00 น.

ศาลพันท้ายนรสิงห์
ศาลพันท้ายนรสิงห์

คาถาบูชาพ่อพันท้ายนรสิงห์

ตั้งนะโม 3 จบ

พ่อพันท้ายนรสิงห์เทวา สิทธิประสิทธิ เม มหาลาโภ ทุติยัมปิ

พ่อพันท้ายนรสิงห์เทวา สิทธิประสิทธิ เม มหาลาโภ ตะติยัมปิ

พ่อพันท้ายนรสิงห์เทวา สิทธิประสิทธิ เม มหาลาโภ

RELATED ARTICLES

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เที่ยวตลาดน้ำในกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี ที่ตลาดน้ำสองคลอง (Songklong floating market)

ตลาดน้ำสองคลองตั้งอยู่ในเขตตลิ่งชัน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เลขที่ 111 วัดตลิ่งชัน 300 ถนน ชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 ตั้งอยู่ในวัดตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ใกล้กับตลาดน้ำตลิ่งชันระยะทางห่างกันประมาณ 300 เมตร เปิดทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. ตลาดน้ำสองคลองเป็นตลาดน้ำขนาดเล็กที่มีบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ไม่แออัด มีที่นั่งสำหรับนั่งทานอาหาร แบ่งออกเป็นสามโซน ในรูปอาคารตัว L อยู่ริมฝั่งคลอง ท้ายวัดตลิ่งชัน ตลาดน้ำสองคลองตั้งอยู่ระหว่างคลองสองคลองเชื่อมต่อกันคือ คลองชักพระ และคลองตลิ่งชัน การเดินทางมาที่ตลาดน้ำสองคลองด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT วิธีเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT มาที่ตลาดน้ำสองคลองเป็นวิธีเดินทางที่ง่ายและสะดวกมากเนื่องจากในทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทางกรุงเทพฯ ได้จัดให้มีรถบัสไฟฟ้าไว้คอยให้บริการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางไปตลาดน้ำได้ฟรี ตั้งแต่เวลา 9.30 –…

นั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไปเที่ยวเที่ยวตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำในกรุงเทพฯ One day trip (Taling Chan Floating Market)

ตลาดน้ำตลิ่งชันเป็นตลาดน้ำที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี และสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ง่ายๆ โดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT โดยเลือกมาลงที่สถานีบางขุนนนท์ ทางออกที่ 2 ตลาดน้ำตลิ่งชันเปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น ตั้งอยู่บริเวณหน้าสำนักงานเขตตลิ่งชัน เลขที่ 333 ถนนชักพระ แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 วิธีเดินทางมาที่ตลาดน้ำตลิ่งชันโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT การเดินทางมาที่ตลาดน้ำตลิ่งชันให้เลือกใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน มาลงที่สถานีบางขุนนนท์ (BL04) จากนั้นเลือกออกทางออกที่ 2 เมื่อลงมาจากสถานีบางขุนนนท์ทางออกที่ 2 แล้ว มีสองวิธีเดินทางง่ายๆ และประหยัด เพื่อไปที่ตลาดน้ำตลิ่งชันได้คือ ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะมีรถไฟฟ้าให้บริการฟรี ซึ่งเป็นบริการพิเศษของกรุงเทพมหานคร ในการให้ความสะดวกแก่ประชาชน โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ 9.00 – 16.45…

35 คำศัพท์ภาษาสวาฮีลี (swahili) ควรรู้ก่อนไปเที่ยวเคนยา Kenya Africa

เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าได้รู้คำศัพท์เบื้องต้นของประเทศที่ไปเที่ยว จะทำให้เพิ่มความสนุกในการท่องเที่ยวได้มากขึ้น และทำให้คนท้องถิ่นรู้สึกประทับใจที่นักท่องเที่ยวสามารถพูดภาษาท้องถิ่นของประเทศตัวเองได้ ประเทศเคนยา เป็นประเทศนึงที่มีภาษาประจำถิ่นเป็นของตนเองคือ ภาษาสวาฮีลี ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาสวาฮีลี เป็นภาษาประจำชาติของประเทศเคนยา แทนซาเนีย ยูกันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) และยังใช้เป็นภาษากลางในแอฟริกาตะวันออก เคนยา มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเคนยา เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีอาณาเขตติดกับประเทศเอธิโอเปีย ประเทศโซมาเลีย ประเทศแทนซาเนีย ประเทศยูกันดา ประเทศเซาท์ซูดาน ทะเลสาบวิกตอเรีย และมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองหลวงคือ ไนโรบี เป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานที่โดดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า 35 ประโยคพื้นฐานภาษาสวาฮีลีที่ควรรู้เมื่อมาเที่ยวประเทศเคนยา tiewgan View all posts by tiewgan | Website

Day3 ท่องซาฟารี ตามรอยสารคดีอาณาจักรสัตว์โลก มาไซมาร่า เคนยา Safari Masai Mara Kenya

ที่อุทยานแห่งชาติมาไซมาร่า Masai Mara นั้น มีแคมป์และโรงแรมที่พักอยู่หลายแห่งด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างๆ กัน ในหลายบริเวณ เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติมาไซมาร่า กว้างใหญ่มาก โรงแรมที่พักมักจะสร้างให้มีรูปแบบที่กลมกลืนกับธรรมชาติ หลังจากพักที่โรงแรม Mara Serena Safari lodge มาแล้ว 2 คืน วันนี้จะย้ายไปพักอีกที่พักนึงซึ่งอยู่คนละฟากฝั่งแม่น้ำ ในเช้าวันนี้สามารถเช็คเอ้าท์ออกจากโรงแรมได้ไม่เกิน 9 โมงเช้า เช้านี้ทานอาหารเช้าที่โรงแรมเสร็จแล้ว Ranger มารับและก็ออกเดินทางพร้อมกับการทำ Game Drive ไปด้วย ระหว่างทางเช้านี้ก็ได้เจอกับยีราฟ ซึ่งมองเห็นอยู่กลางทุ่งหญ้าอยู่ไกล ๆ จากนั้นเมื่อ Ranger ขับรถมาเรื่อยๆ ก็ต้องหยุดรถเพราะมีช้างซึ่งกำลังกินหญ้าอยู่ข้างทาง ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนมาก ในการจะขับรถผ่านไปได้นั้น จึงต้องดูจังหวะที่ปลอดภัย เพื่อไม่ให้เข้าใกล้ช้างมากเกินไปและเพื่อไม่ทำให้ช้างตกใจ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะเกิดอันตรายได้ ระหว่างเส้นทางที่ขับผ่านไปยังที่พักแห่งใหม่นั้นต้องขับอ้อมไปไกลมาก เพื่อไปยังสะพานข้ามแม่น้ำมาร่า ในระหว่างเส้นทางต้องขับขึ้นไปบนพื้นที่ภูเขาสลับกับที่ราบ ตามเส้นทางจะมีก้อนหินอยู่ตลอดเส้นทาง…

Leave a Reply

google.com, pub-2053835749703173, DIRECT, f08c47fec0942fa0