ลพบุรี (Lopburi Province) เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องและยาวนานที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศไทย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 3,500 ปีมาแล้ว หน้าตึกแถวย่านการค้าธุรกิจในตัวเมืองลพบุรีที่มีคนอยู่หนาแน่น ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อเดินผ่านแนวต้นสารภีเข้าไปภายในก็จะพบ “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ซึ่งเป็นราชวังเดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บูรพกษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา ซึ่งปรากฏหลักฐานทั้งทางเอกสารและทางสถาปัตยกรรมมากมายระบุว่า “แผ่นดินของพระองค์เปรียบดั่งแผ่นดินทองของการค้าขายและวิทยาการสมัยใหม่จากตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามากับฝรั่งราชทูต บาทหลวง พ่อค้าวาณิช” ที่ล่องเรือข้ามซีกโลกมุ่งสู่แผ่นดินสยามด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน ฝรั่งข้าราชสำนักผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในยุคนั้น คือ “คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ ออกญาวิไชเยนทร์” ทำหน้าที่ควบคุมด้านการค้าต่างประเทศเป็นนักแสวงโชคชาวกรีก ซึ่งเป็นคนที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเกลียดชังอย่างที่สุด เพราะชอบใช้อำนาจมืดวางแผนกำจัดศัตรูทางการเมือง
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้สร้างขึ้น ณ เมืองลพบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.2208-2209 มีข้อสันนิษฐานที่สำคัญ คือ ใน พ.ศ. 2207 เกิดกรณีพิพาทระหว่างฮอลันดากับไทย ฮอลันดาได้นำเรือมาปิดปากอ่าวไทยและบังคับให้ไทยทำสนธิสัญญาเสียเปรียบทางการค้าและเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำใหญ่ ไม่ห่างจากทะเล และด้วยเหตุผลทางการเมืองภายในประเทศ พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรี ใช้เป็นราชธานีที่สอง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ไกลจากแม่น้ำใหญ่ มีป่า ภูเขา สัตว์ป่าชุกชุมทำให้ต้องอัธยาศัยในการเสด็จเข้าป่าล่าสัตว์ล้อมจับช้างในบริเวณป่าใกล้เมืองลพบุรี พระองค์จึงรู้สึกปลอดภัยเมื่อประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี
ตอบโจทย์ทุกความต้องการ กับบัตร KTC PROUD เป็นทั้งบัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน สนใจคลิกเลย https://cl.accesstrade.in.th/0021140011q8
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ พระราชวังหันเข้าหาตัวเมือง ด้านหลังติดแม่น้ำลพบุรี กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูน กำแพงชั้นนอกสูงใหญ่โดยรอบ มีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงตลอด ตรงกึ่งกลางกำแพงมีป้อมปืนอยู่ 7 ป้อม ตรงฐานของป้อมปืนแต่ละป้อมเจาะเป็นช่องกลมเพื่อเสียบปืนใหญ่ กำแพงด้านในเจาะเป็นช่องสำหรับตามประทีป มีประตูทางเข้า 7 ประตู มีลักษณะโค้งแหลม ปัจจุบันเปิดให้เข้าได้เฉพาะประตูด้านหน้า ทางทิศตะวันออกเท่านั้น
พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์มีพื้นที่ประมาณ 43 ไร่ ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมตะวันตก สมเด็จพระนารายณ์ทรงโปรดประทับ ณ เมืองลพบุรีเกือบตลอดปี เฉพาะฤดูฝนเท่านั้นที่จะเสด็จไปประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าพระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่มีสระน้ำขนาดใหญ่ 4 สระ ใช้เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อ พ.ศ. 2231 ปัจจุบันเหลือเพียงแต่ฐานรากเท่านั้น
จากบันทึกของ นิโกลาส แชร์แวส ชาวฝรั่งเศสได้บรรยายไว้ว่า “หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองคล้ายทองคำเมื่อยามต้องแสงตะวัน พระที่นั่งองค์นี้มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ตรงมุมมีสระน้ำใหญ่ 4 สระ บรรจุน้ำบริสุทธิ์ เป็นที่สรงสนาน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายใต้กระโจมซึ่งคลุมกั้น สระน้ำทางขวามือตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาจำลองซึ่งปกคลุมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มและดอกไม้ซึ่งส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา มีน้ำพุใสจ่ายแจกให้แก่ธารน้ำทั้ง 4 ในบริเวณพระที่นั่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปลูกพันธ์ไม้ดอกด้วยพระหัตถ์เอง ตรงหน้าพระที่นั่งปลูกต้นส้ม มะนาว และพันธ์ไม้ในประเทศอย่างอื่นมีใบดกหนาทึบแม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอ”
วังนารายณ์ เมื่อสิ้นสูญผู้ครอบครอง พระราชวังที่เคยอึกทึกไปด้วยผู้คนทั้งจากแผ่นดินตะวันตกและเปอร์เซีย บางค่ำคืนเคยตามประทีปดวงไฟสว่างไสว บนโต๊ะอาหารยาวเหยียดมีเหล้าองุ่นชั้นเลิศให้เลือกจิบ อาหารทั้งไทยฝรั่งมากมาย
มาบัดนี้เหลือเพียงซากอาคารยืนทะมึน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นโดยรับอิทธิพลจากฝรั่งเศส อิหร่าน และไทยผสมกันอย่างลงตัว
พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์และเคยมีน้ำพุจากภูเขาจำลองสร้างตามแบบของวัฒนธรรมอิหร่านเพื่อปรับอากาศภายในให้เย็นขึ้น กลับเหลือเพียงกองอิฐแดงชำรุดและปูนกะเทาะ