tiewgan.com

Think about Travel Think of Tiewgan.com

จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดเล็กๆ ที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกจังหวัดนึงในภาคเหนือที่มีกระแสการท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในตอนนี้ จังหวัดน่านมีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมความเป็นล้านนา มีความเป็นอยู่เรียบง่าย ผู้คนพื้นที่ใจดีมีความเป็นมิตร รวมทั้งมีภูมิทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม ล้อมรอบด้วยภูเขา และทุ่งนาเขียวขจี

ภาพกระซิบรัก เอกลักษณ์ของเมืองน่าน
ภาพกระซิบรัก เอกลักษณ์ของเมืองน่าน

จังหวัดน่านแบ่งเขตการปกครองเป็น 15 อำเภอ ได้แก่ 1. อำเภอเมืองน่าน 2. อำเภอแม่จริม 3. อำเภอบ้านหลวง 4. อำเภอนาน้อย 5. อำเภอปัว 6. อำเภอท่าวังผา อำเภอเวียงสา 8. อำเภอทุ่งช้าง 9. อำเภอเชียงกลาง 10. อำเภอนาหมื่น 11. อำเภอสันติสุข 12. อำเภอบ่อเกลือ 13. อำเภอสองแคว 14. อำเภอภูเพียง 15. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

มีคำขวัญประจำจังหวัดคือ แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

เมื่อมาเที่ยวในเมืองน่าน อีกหนึ่งกิจกรรมที่ควรทำเมื่อมาเที่ยวเมืองน่านคือการไหว้พระ 9 วัด เพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าในตัวเมืองน่านนั้นมีวัดเก่าแก่ และสำคัญๆ ตั้งอยู่หลายวัดด้วยกัน ซึ่งยังคงความมีเอกลักษณ์ มีศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นล้านนาเอาไว้ เมื่อมีโอกาสมาเที่ยวแล้วจึงควรไหว้พระ 9 วัดไปด้วย โดยสามารถวางแผนไหว้พระ 9 วัดที่เมืองน่านได้ภายใน 1 วัน โดยแนะนำว่าให้เริ่มต้นที่วัดภูมินทร์ เป็นวัดแรก ต่อด้วยวัดพญาภู วัดพระธาตุช้างคำวรวิหาร วัดหัวข่วง วัดศรีพันต้น วัดพญาวัด วัดพระธาตุเขาน้อย วัดสวนตาล และ วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
วัดภูมินทร์ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพกระซิบรักบันลือโลก ของปู่ม่านย่าม่าน ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพกระซิบรักบันลือโลก ของปู่ม่านย่าม่าน อยู่ในโบสถ์วิหารจตุรมุข ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน
พระประธานวัดภูมินทร์ อยู่ในโบสถ์วิหารจตุรมุข ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน เป็นพระพุทธรูป 4 องค์ ปางมารวิชัย
พระประธานวัดภูมินทร์ อยู่ในโบสถ์วิหารจตุรมุข ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน เป็นพระพุทธรูป 4 องค์ ปางมารวิชัย
ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดเท่าคนจริง ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดเท่าคนจริง ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดเท่าคนจริง ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดเท่าคนจริง ที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน

วัดภูมินทร์ เป็นวัดสำคัญของเมืองน่านเดิมชื่อว่าวัด พรหมมินทร์ สร้างในปี พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน มีความโดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ ตรงที่เป็นวัดทรงจตุรมุขที่เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ประธานในอาคารเดียวกัน วัดภูมินทร์ตั้งอยู่ใกล้กับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซุ้มอุโมงค์ต้นลีลาวดี ตั้งอยู่ที่ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน ทั้งนี้วัดภูมินทร์ยังเป็นที่ตั้งของถนนคนเดินเมืองน่านหรือกาดข่วงเมืองน่าน ซึ่งจัดทุกเย็นวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์

ที่วัดภูมินทร์แห่งนี้มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม จิตรกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียงโด่งดังและกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองน่านคือภาพกระซิบรักบันลือโลก ซึ่งคือภาพของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณพูดกระซิบสนทนากัน นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองน่านแล้วคงไม่พลาดที่จะมาชื่นชมและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับปู่ม่านย่าม่าน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการเช็คอินน์ว่ามาถึงเมืองน่านแล้ว

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ.น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ.น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ.น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จ.น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร มองจากพิพิธภัณฑ์จังหวัดน่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร มองจากสนามหลวงเมืองน่าน ที่พิพิธภัณฑ์จังหวัดน่าน

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เยื้องๆกับวัดภูมินทร์ เดิมชื่อวัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1949 เป็นอีกหนึ่งวัดกลางเมืองน่านที่ห้ามพลาดชม วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารถือเป็นวัดหลวง ที่เจ้าผู้ครองนครน่านใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมยุคสุโขทัย รอบฐานนั้นก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และมุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “ช้างค้ำ” พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย ศิลปะเชียงแสน เป็นฝีมือสกุลช่างน่าน มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก คือพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร

วัดหัวข่วง

วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
โฮงตุ๊เจ้าหลวง คุ้มอดีตเจ้าเมืองน่าน ที่วัดหัวข่วง จ.น่าน
โฮงตุ๊เจ้าหลวง คุ้มอดีตเจ้าเมืองน่าน ที่วัดหัวข่วง จ.น่าน
องค์พระประธาน วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
องค์พระประธาน วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

ชาวบ้านระแวกนี้มีความเชื่อว่าพระประธานที่ประดิษฐานที่วัดหัวข่วงแห่งนี้ เป็นพระประธานแห่งสันติภาพและมีความเชื่อว่า หากใครที่มาไหว้ก็จะพบกับความสันติสุข ใครที่ทะเลาะกัน คู่รักที่บาดหมางกัน มาไหว้พระที่นี่ก็อาจจะคืนดีกันได้

องค์พระประธาน วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
องค์พระประธาน วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
ภายในวิหารพระประธาน วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
ภายในวิหารพระประธาน วัดหัวข่วง ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

วัดหัวข่วง เป็นวัดที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองน่านมีลักษณะศิลปกรรมแบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่านฝีมือประณีตงดงาม คำว่า หัวข่วง คือ วัดที่อยู่ทางทิศเหนือของลานกว้าง (สนามหลวงเมืองน่าน) ตั้งอยู่ในย่านประวัติศาสตร์สำคัญของเมืองน่านในอดีตติดกับหอคำ หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ตั้งอยู่ระแวกเดียวกันกับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และวัดภูมินทร์ ตั้งอยู่ที่ ถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน วัดหัวข่วงมีประวัติการก่อสร้างในปี พ.ศ.2061 โดยเจ้าผู้ครองนครน่านแต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นองค์ใด ที่วัดหัวข่วงแห่งนี้มีคุ้มอดีตเจ้าเมืองน่านตั้งอยู่ภายในวัด

วัดศรีพันต้น

วัดศรีพันต้นเป็นวัดที่มีความโดดเด่น มีสีเหลืองทองอร่าม สวยงาม ตั้งอยู่ที่ถนนเจ้าฟ้า ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน อยู่ไม่ไกลจากวัดภูมิทร์มากนัก เป็นอีกวัดเก่าแก่ของเมืองน่าน สร้างขึ้นโดย พญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่านแห่งราชวงศ์ภูคา โดยชื่อวัดตรงกับนามผู้สร้างคือ พญาพันต้น บางสมัยเรียกว่า วัดสลีพันต้น ซึ่งคำว่า สลี หมายถึง ต้นโพธิ์ เนื่องจากในอดีตนั้นมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด

วัดพญาภู

วัดพญาภู ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
วัดพญาภู ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
วัดพญาภู ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
พระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน วัดพญาภู ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
วัดพญาภู ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
วัดพญาภู ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน

วัดพญาภู เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองน่าน ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พญาภู แห่งราชวงศ์ภูคา ซึ่งเป็นเจ้าครองนครเมืองน่าน ได้สร้างวัดพญาภูขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1956 และอุปถัมภ์วัดตลอดมา ภายในวิหารวัดพญาภูมีพระพุทธปฏิมากรปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนเป็นพระประธาน ก่ออิฐถือปูนปิดทองคำเปลว หน้าตักกว้าง 11 ศอก ซึ่งเป็นพระประธานที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ที่ ตรอกพญาภู ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน

วัดสวนตาล

วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
เจดีย์วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
เจดีย์วัดสวนตาล ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

วัดสวนตาล เป็นอีกวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองน่านมาร่วม 600 ปีสร้างขึ้นในสมัยพระนางปทุมมาวดีชายาของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่านเมื่อราวปี พ.ศ.1955 โดยสร้างขึ้นบริเวณด้านนอกของกำแพงเมืองน่านทางด้านทิศเหนือ ซึ่งในอดีตเคยเป็นสวนตาลหลวงมาก่อน และเมื่อสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาชื่อวัดจึงถูกเรียกตามชื่อของสวนตาลหลวงนั่นเอง ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่คือ พระเจ้าทองทิพย์ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย

เจดีย์วัดสวนตาล องค์เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ปริตเดชฯ พระเจ้าน่าน โปรดให้บูรณะขึ้นใหม่

วัดสวนตาล ตั้งอยู่ที่ ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน

วัดพญาวัด

วัดพญาวัด
วัดพญาวัด
องค์พระธาตุจามเทวี วัดพญาวัด
องค์พระธาตุจามเทวี วัดพญาวัด
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน

วัดพญาวัด วัดนี้ไม่มีบันทึกการสร้างที่แน่นอน แต่จากบริเวณที่ตั้งของวัดและลักษณะของเจดีย์ คาดว่าเจดีย์พญาวัดน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยต้นๆ ของเมืองน่าน เป็นอีกวัดเก่าแก่ของเมืองน่านที่มีความน่าสนใจซุกซ่อนอยู่ มีองค์พระเจดีย์ศิลาแลง ลักษณะเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยม ที่สร้างในสมัยพระนางจามเทวี ซึ่งดูคล้ายเจดีย์กู่กุดของลำพูน โดยเป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้น หรือเรียกว่า องค์พระธาตุจามเทวี นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่พระนางจามเทวี ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เข้ากับพระธาตุจามเทวี เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงพระนางจามเทวี ให้ผู้ศรัทธามาสักการะได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงลำพูน

ภายในอุโบสถประดิษฐาน พระเจ้าฝนเสน่หา หรือ พระเจ้าสายฝน ที่ชาวเมืองน่านอัญเชิญมาในคราวที่ต้องการทำพิธีแห่ขอฝน เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลักที่อยู่คู่กับวัดพญาวัดมาแต่โบราณ

วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน เส้นทางเดียวกันกับทางไปวัดพระธาตุเขาน้อย ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่านมีทางแยกทางด้านซ้ายมือ เข้าไปที่ทางหลวงหมายเลข 1025 เข้าไปประมาณ 300 เมตร

วัดพระธาตุเขาน้อย

จุดชมวิว ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน วัดพระธาตุเขาน้อย
จุดชมวิว ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน วัดพระธาตุเขาน้อย
จุดชมวิว ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน วัดพระธาตุเขาน้อย
จุดชมวิว ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน วัดพระธาตุเขาน้อย
เจดีย์วัดพระธาตุเขาน้อย จ.น่าน
เจดีย์วัดพระธาตุเขาน้อย จ.น่าน
พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน
พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน

วัดพระธาตุเขาน้อย สร้างในสมัยพระเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์เป็นศิลปะพม่าผสมผสานศิลปะล้านนา เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกัน

ตรงลานชมทิวทัศน์เมืองน่าน ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท

วัดพระธาตุเขาน้อย ตั้งอยู่บนดอยเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน เส้นทางเดียวกันกับทางไปวัดพญาวัด ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 240 ม. หน้าวัดมีทางขึ้นบันไดนาค 303 ขั้น วัดพระธาตุเขาน้อยเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวดูวิวมุมสูง สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดประจำปีเกิดคนเกิดปีเถาะ (กระต่าย)
วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดประจำปีเกิดคนเกิดปีเถาะ (กระต่าย)
วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

วัดพระธาตุแช่แห้ง เป็นอีกวัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของเมืองน่าน พระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน และเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ (ปีกระต่าย) สันนิษฐานว่ามีอายุราว 600 ปี สร้างโดยพญาการเมืองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากกรุงสุโขทัย

ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่าการได้ไปสักการะบูชา กราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง แล้วนั้นจะทำให้ได้รับอานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดี มีความสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า

วัดพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ยๆ องค์พระธาตุมีสีทองสุกปลั่ง อยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองน่านมากนัก มีระยะทางห่างจากเทศบาลนครเมืองน่าน ประมาณ 5 กิโลเมตรเท่านั้น

RELATED ARTICLES

เที่ยวทะเลอันดามัน อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ 1 วัน 1 คืน

การมาเที่ยวอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ ในทริปนี้เกิดจากตั๋วบุฟเฟต์แอร์เอเชียเป็นเหตุ สมัครบุฟเฟต์แอร์เอเชียไว้แล้ว จองตั๋วเครื่องบินไว้ล่วงหน้า โดยจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีสนามบิน ไปกลับเพียงแค่ 200 บาท และเพราะอ่าวนาง จังหวัดกระบี่เป็นเมืองที่น่าสนใจและมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่อยู่ใกล้และมีชื่อเสียง เช่น หาดนพรัตน์ธารา สุสานหอย 75 ล้านปี วัดถ้ำเสือ สระมรกต ท่าปอมคลองสองน้ำ วัดบางโทง หรือจะไปเที่ยวที่เกาะต่างๆ ก็มีเรือท้องถิ่นไว้คอยให้บริการมากมายให้เลือกจองซึ่งสะดวกมากสำหรับนักท่องเที่ยว สาเหตุที่จองมากระบี่ 1 วัน 1 คืน เพราะในการจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าต้องกำหนดวันที่สามารถเดินทางได้แน่นอน ก็เลยจองตั๋วเครื่องบินให้ตรงกับช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยจองในเช้าวันเสาร์ มาถึงสนามบินกระบี่ในช่วงประมาณ 10.00 น. และกลับในวันอาทิตย์ช่วงบ่ายสองโมง ช่วงที่เดินทางมาเที่ยวเป็นช่วงต้นเดือนมีนาคม เรามาถึงที่สนามบินกระบี่ในช่วงสิบโมงกว่าๆ เดินออกจากตัวอาคารมาเพื่อมาขึ้นรถบัสประจำทางไปอ่าวนาง เดินออกมารถจะจอดอยู่ที่ด้านหน้าอาคารสนามบิน ทริปนี้เป็นทริปสั้นๆ ก็เลยคิดว่าการไปพักและเที่ยวที่อ่าวนางน่าจะเที่ยวได้เพลิดเพลินกว่าพักในตัวเมืองกระบี่ เราเลยจองโรงแรมไว้ที่อ่าวนาง จองโดยใช้สิทธิเราเที่ยวด้วยกันของโครงการของรัฐบาล ได้ส่วนลด 40 %…

การเดินทางไปธนาคารยูโอบีสำนักงานเพชรเกษม (UOB Bank)

ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่เพชรเกษม บางหว้า ใกล้ห้างซีคอนบางแค ตั้งอยู่เลขที่ 559 ถนนเพชรเกษม บางหว้า ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 การเดินทางไปธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม การเดินทางไปธนาคารยูโอบี สำนักเพชรเกษม สามารถเดินทางได้ง่ายโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน ไปลงที่สถานีภาษีเจริญ ออกทางออกที่ 1 (ซอยเพชรเกษม 33/8) ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ตรงหน้าห้างซีคอนบางแค จากหน้าห้างซีคอนให้เดินตรงไปทางด้านขวามือประมาณ 200 เมตร ธนาคารยูโอบีสำนักเพชรเกษมตั้งอยู่ตรงซอยเพชรเกษม 33/5 tiewgan View all posts by tiewgan | Website

การเดินทางจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRTบางซื่อ ไปที่จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ไปสนามบินดอนเมือง

รถไฟฟ้าสายสีแดง เริ่มต้นจากสถานีตลิ่งชัน ไปจนถึงสถานีรังสิต โดยเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ที่สถานีกลางบางซื่อ โดยเริ่มเดินขบวนแรกในเวลา 5.30 น. ไปจนถึงเวลา 24.00 น. มีทั้งหมด 13 สถานี โดยเริ่มจาก 1.สถานีตลิ่งชัน สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อรถไฟทางไกลได้ 2.สถานีบางบำหรุ สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อสถานีรถไฟทางไกลได้ 3.สถานีบางซ่อน สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ 4.สถานีกลางบางซื่อ สถานีนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน 5.สถานีจตุจักร 6.สถานีวัดเสมียนนารี 7.สถานีบางเขน 8.สถานีทุ่งสองห้อง 9.สถานีหลักสี่ สถานีนี้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้ 10.สถานีการเคหะ 11.สถานีดอนเมือง สถานีนี้เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง และสถานีรถไฟทางไกล 12.สถานีหลักหก 13.สถานีรังสิต สถานีนี้เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟทางไกลได้ การเดินทางจากรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน สามารถมาลงที่สถานีกลางบางซื่อเพื่อเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงไปยังสนามบินดอนเมืองได้ที่สถานีกลางบางซื่อ แล้วเดินออกทางออกที่ 3 ไปยังอุโมงค์ทางเชื่อมเพื่อไปยังสถานีกลางบางซื่อ tiewgan View…

การเดินทางไปถนนข้าวสารด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา Khaosan road

ถนนข้าวสาร เป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งแน่นขนัดไปด้วยแดนซ์คลับและบาร์กลางแจ้งอันพลุกพล่าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่คึกคักในยามค่ำคืนของย่านบางลำพู เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 – 24.00 น. ถนนข้าวสารเป็นถนนในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงครามไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงถนนตะนาวใกล้สี่แยกคอกวัว การเดินทางมาที่ถนนข้าวสารด้วยเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา มาลงที่ท่าเรือ ท่าพระอาทิตย์ แล้วเดินออกไปยังถนน จากนั้นให้เดินไปทางด้านขวามือ แล้วข้ามถนนเดินเข้าไปในซอยชนะสงคราม เดินไปจนถึงท้ายซอยแล้วเลี้ยวซ้ายแล้วเดินเรียบกำแพงวัดชนะสงครามไปเรื่อยๆ บริเวณนี้ก็จะเป็นย่านถนนข้าวสาร จะเริ่มเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมายนั่งอยู่หน้าร้านอาหาร การนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเรือพระอาทิตย์นอกจากไปถนนข้าวสารแล้ว สามารถไปที่วัดชนะสงคราม และวัดบวรนิเวศวิหาร เพราะอยู่ในระแวกเดียวกัน tiewgan View all posts by tiewgan | Website

Leave a Reply

google.com, pub-2053835749703173, DIRECT, f08c47fec0942fa0